ประวัติและความสำคัญของ “วันมาฆบูชา”

Makha Bucha Day

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 โดยวันมาฆบูชา 2563 ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา ในวันมาฆบูชาชาวพุทธจะไปทำบุญ ฟังธรรม และเวียนเทียนกันที่วัด วันนี้เราจึงนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามาให้อ่านกัน

“มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดียหรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย

ความสำคัญของวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระสงฆ์จำนาน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ที่เวฬุวันมหาวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยพระภิกษุสงฆ์เหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และบรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆองค์ ซึ่งในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการและวิธีปฏิบัติต่างๆ มีเนื้อหาโดยสรุปเป็นในความสำคัญคือ “ทำความดี ละเว้นความเชื่อ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

ทั้งนี้ วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งมีความหมายดังนี้

  • จาตุร แปลว่า 4
  • องค์ แปลว่า ส่วน
  • สันนิบาต แปลว่า ประชุม

ดังนั้น “จาตุรงคสันนิบาต” จึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ 4” นั่นเอง

ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหารและวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วย จีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึง และขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

ขอขอบคุณสาระน่ารู้จาก : https://hilight.kapook.com/view/20696

You might also like

The Best Time to visit Phuket by Month, Weather, Activities, and Culture

4 Quick and Easy Thai Food Dishes

While it is undoubtedly best to savour Thai dining in a Phuket restaurant, you don’t necessarily need to travel across the globe to enjoy the wonderful flavours you can enjoy here. That being the case, we’ve picked out a selection of tasty Thai food dishes you can prepare quickly and without too much effort.

LEARN MORE
4 Thai Dishes To Avoid if You’re Dieting

4 Thai Dishes To Avoid if You’re Dieting

Given that the vast majority of Thai people seem to have very slim and slight figures, the assumption would naturally be that Thai food is extremely healthy. Here are some of the worst offenders - the dishes to avoid ordering in a Phuket Thai restaurant if you’re trying to lose weight.

LEARN MORE
สมุนไพรผักพื้นบ้านและผลไม้ยอดนิยม

สมุนไพรผักพื้นบ้านและผลไม้ยอดนิยม ที่มักพบในอาหารไทย!

พืชสมุนไพรต่างๆของไทยนั้น ตั้งแต่โบราณก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีคุณค่าทางยามากมาย ซึ่งในอาหารไทยที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวัน ล้วนก็ประกอบไปด้วยสมุนไพรนานาชนิด เป็นวัตถุดิบผสมอยู่ด้วยทั้งสิ้น

LEARN MORE
เมนูกุ้งแม่น้ำ

สุดยอดเมนู "กุ้งแม่น้ำ" ที่หลายๆคนชื่นชอบ

กุ้งแม่น้ำ ถือได้ว่าเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนไทยและคนต่างชาติ ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู วันนี้เลยนำสูตรวิธีการทำง่ายๆ สามารถทำทานเองได้ที่บ้าน มาฝากผู้อ่านกัน

LEARN MORE
Tom Yum Gung Thaifood

The Perfect Tom Yum Gung

The spicy tom yum soup is often ranked among the favourite dishes ordered by visitors to Phuket Thai restaurants. While it may or may not have originated in Southern Thailand, it’s certainly popular and widely available here. The complex flavour is at once tangy and tart, a little sweet and a bit smooth - it’s a fantastic example of the remarkable flavours Thai food is famous for.

LEARN MORE
ข้าวซอย อาหารไทยท้องถิ่น ภาคเหนือ

“ข้าวซอย” อาหารไทยท้องถิ่นของภาคเหนือ

ข้าวซอยเป็นอาหารพื้นบ้านของทางภาคเหนือ เชื่อกันว่าหากใครไปเที่ยวเชียงใหม่แล้วไม่ได้ขึ้นดอยสุเทพ หรือไม่ได้กินข้าวซอยก็เหมือนไปไม่ถึงเชียงใหม่ วันนี้หากใครอยากกินข้าวซอยไม่ต้องไปถึงเชียงใหม่แล้ว เพราะเราได้นำสูตรและวิธีการทำข้าวซอยมาให้ทุกคนได้ทดลองทำกัน

LEARN MORE
มารยาทบนโต๊ะอาหารที่ทุกคนควรรู้

มารยาทบนโต๊ะอาหารที่ทุกคนควรรู้

มารยาทในการรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าชาติใดก็มักจะมีเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติเฉพาะตัว รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย ดังนั้นเราจึงควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของสังคม

LEARN MORE